การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น : ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคมหากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
ข้อความ
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555
คำนาม
คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาคาร สภาพ และลักษณะทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด
1. สามานยนาม
2. วิสามานยนาม
3. สมุหนาม
4. ลักษณนาม
5. อาการนาม
1. สามานยนาม คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป เช่น หนู เป็ด โต๊ะ บ้าน หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น คน , รถ , หนังสือ, กล้วย เป็นต้น สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย เช่น คนไทย, รถจักรายาน, หนังสือแบบเรียน , กล้วยหอม เป็นต้น
ตัวอย่างของสามานยนาม เช่น
2. วิสามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สถานที่ หรือเป็นคำเรียกบุคคล สถานที่เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด เช่น นายอัตถ์ ตูบ หรือ ชื่อวัน ชื่อเดือน เช่น วันจันทร์ เดือนมกราคม หรือชื่อจังหวัดธรรมศาสตร์ , วัดมหาธาตุ , รามเกียรติ์ เป็นต้น
ตัวอย่างของวิสามานยนาม เช่น
3. ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนามนั้นให้ชัดเจนขึ้น เช่น รูป , องค์ , กระบอก เป็นต้น
4. สมุหนาม คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของสามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมากๆ เช่น ฝูงผึ้ง , โขลงช้าง , กองทหาร เป็นต้น
ตัวอย่างของสมุหนาม เช่น
5. อาการนาม คือ คำเรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาด จะมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า เช่น การกิน , กรานอน , การเรียน , ความสวย , ความคิด , ความดี เป็นต้น
ตัวอย่างของอาการนาม เช่น
ข้อสังเกต คำว่า "การ" และ "ความ" ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา หรือวิเศษณ์จะไม่นับว่าเป็นอาการนาม เช่น การรถไฟ , การประปา , ความแพ่ง เป็นต้น คำเหล่านี้จัดเป็นสามานยนาม
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น น้องร้องเพลง ครูชมนักเรียน นกบิน
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น แมวกินปลา ตำรวจจับผู้ร้าย น้องทำการบ้าน
3. ทำหน้าที่เป็นส่วยขยายคำอื่น เช่น สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า ตุ๊กตาหยกตัวนี้สวยมาก นายสมควรยามรักษาการเป็นคนเคร่งครัดต่อหน้าที่มาก
4. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น แม่ไปตลาด น้องอยู่บ้าน เธออ่านหนังสือเวลาเช้า
5. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ เช่น เขาเหมือนพ่อ เธอคล้ายพี่ วนิดาเป็นครู เธอคือนางสาวไทย มานะสูงเท่ากับคุณพ่อ
6. ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว พ่อนอนบนเตียง ปู่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
7. ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน เช่น คุณครูคะหนูยังไม่เข้าใจเลขข้อนี้ค่ะ คุณหมอลูกดิฉันจะหายป่วยไหม นายช่างครับผมขอลากิจ 3 วัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)